ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2563

 

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2563

  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2563 คืออะไร ทำไมต้องปรับเปลี่ยน?

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2563 นี้จะนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งเริ่มใช้เมื่อปี 2508 ราคากลางไม่มีการปรับมาเป็นเวลานาน อัตราภาษีถดถอย มีการยกเว้นลดหย่อนจำนวนมาก และยังจะแก้ไขปัญหาภาษีโรงเรือนและที่ดินซึ่งมีฐานภาษีซ้ำซ้อนกับภาษีเงินได้

  • แล้วใครต้องเสียภาษีอสังหาฯ นี้?

  1. เจ้าของที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง
  2. เจ้าของห้องชุด
  3. ผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือทำประโยชน์ในทรัพย์สินของรัฐ(ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง)

  • การแบ่งประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

  1. เกษตรกรรม ใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อบริโภค หรือจำหน่ายเพื่อบริโภค หรือใช้งานในฟาร์ม จะต้องปลูกต้นไม้ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด ทั้งชนิดต้นไม้และปริมาณการปลูก เช่น การปลูกกล้วยต้องไม่ต่ำกว่า 200 ต้นต่อไร่ หากทำเกษตรกรรมไม่เต็มพื้นที่ต้องเสียภาษีตามสัดส่วนการใช้งาน
  2. ที่อยู่อาศัย แบ่งเป็น “บ้านหลังหลัก” คือเจ้าของบ้านมีชื่อในโฉนด + ทะเบียนบ้าน (ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้าน แต่เจ้าของคนใดคนหนึ่งมีชื่อในทะเบียนบ้าน)
    “บ้านหลังอื่นๆ” คือ เจ้าของบ้านมีชื่อในโฉนด แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
  3. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ
  4. อื่นๆ เช่น พาญิชยกรรม อุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน โรงแรม ฯลฯ

  • อัตราการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

การจัดเก็บภาษีจะคำนวณจาก “ราคาประเมิน”  ของสิ่งปลูกสร้าง ที่ดิน หรือห้องชุด โดยสามารถค้นข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ http://property.treasury.go.th/pvmwebsite/   ซึ่งใช้เป็นราคากลางของแต่ละเขตพื้นที่แตกต่างกันไป มีอัตราการจัดเก็บภาษีดังนี้ (ภาพจาก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง)

อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

รูปจาก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง http://www.fpo.go.th/main

 

  • การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

สำหรับที่อยู่อาศัยได้รับการยกเว้นภาษีได้แก่ บ้านหลังหลัก คือเจ้าของบ้านมีชื่อในโฉนด + ทะเบียนบ้าน (ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้าน แต่เจ้าของคนใดคนหนึ่งมีชื่อในทะเบียนบ้าน) ถ้าเป็นเจ้าของทั้งที่ดินและบ้านจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่า 50 ล้านบาทแรก ถ้าเป็นเจ้าของแค่เฉพาะตัวบ้านอย่างเดียวไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน ในกรณีนี้จะได้รับยกเว้นภาษี 10 ล้านบาทแรก 

ในขณะที่ “บ้านหลังที่สอง หรือหลังอื่น” คือ เจ้าของบ้านมีชื่อในโฉนด แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน หากลักษณะการทำประโยชน์ของสิ่งปลูกสร้างเป็น “อยู่อาศัย” จะต้องเสียภาษีล้านละ 200 บาท ตั้งแต่บาทแรก แต่หากลักษณะการทำประโยชน์ของสิ่งปลูกสร้างเป็น “อื่นๆ” จะต้องเสียภาษีล้านละ 3,000 บาท

สำหรับที่ดินที่ใช้ทำเกษตรกรรมโดยจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีใน 3 ปีแรก ส่วนปีที่ 4 เป็นต้นไปจะยกเว้นมูลค่า 50 ล้านบาทแรก และการทำเกษตรกรรมนั้นจะมีข้อกำหนดต่างๆ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด ทั้งชนิดต้นไม้และปริมาณการปลูก เช่นต้องปลูกพืชเต็มพื้นที่ หรือประมาณ  200 ต้นต่อไร่ เป็นต้น

ตัวอย่างจดหมายกรมที่ดิน
ตัวอย่างจดหมายแจ้งข้อมูลลักษณะการทำประโยชน์

 

  • ข้อเท็จจริงการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

รูปจาก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง http://www.fpo.go.th/main

 

  • วิธีการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2563

คำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

 

 

  • ตัวอย่างการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

  1. นางสาวบีเป็นเจ้าของบ้านเดี่ยวซึ่งปลูกบนที่ดินของตนเอง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ราคาประเมินบ้านของนางสาวบีอยู่ที่ 7 ล้านบาท บ้านหลังนี้จะได้รับการยกเว้นภาษีเนื่องจากบ้านมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท
  2. นายซีดีเป็นเจ้าของบ้านพร้อมที่ดินราคา 60 ล้านบาท นายซีดีเป็นเจ้าของและมีชื่อในทะเบียนบ้าน จะเห็นว่ามูลค่าของบ้านและที่ดินเกิน 50 ล้านบาท ต้องมีการเสียภาษีโดยจะคิดภาษีดังนี้
    ต้องหักมูลค่าที่ยกเว้นออกไปก่อน 60 – 50 = 10 ล้านบาท จากตารางมูลค่าทรัพย์สินอยู่ในช่วง 50 – 75 ล้านบาท อัตราภาษีคือ 0.03% ดังนั้น 0.03% x 10,000,000 ดังนั้นนายซีดีจะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเท่ากับ 3,000 บาทต่อปี
  3. นางสาวไก่ปลูกบ้านราคา 9 ล้านบาทบนที่ดินของนายซีดี กรณีนี้นางสาวไก่จะไม่ต้องเสียภาษีเพราะมูลค่าบ้านไม่ถึงสิบล้าน
  4. นางสาวกวางปลูกบ้านราคา 20 ล้านบาทบนที่ดินของนายกุ้ง กรณีนี้นางสาวกวางจะต้องเสียภาษีเพราะมูลค่าบ้านเกิน 10 ล้านบาท กรณีที่สร้างบ้านบนที่ดินคนอื่นเราจะมีสิทธิ์ยกเว้นภาษีได้เพียง 10 ล้านบาท ดังนั้นเราก็เอา 20,000,000 – 10,000,000 = 10,000,000 บาท และดูจากตารางราคาบ้านที่เหลืออยู่ในช่วง 10 – 50 ล้านบาทเอา  0.02% x 10,000,000 นั่นคือนางสาวกวางจะเสียภาษี 2,000 บาท
  5. น้ากมล มีบ้านพร้อมที่ดินอยู่  3 หลัง โดยน้ากมลเป็นเจ้าของบ้านทั้ง 3 หลังเลย (บ้านหลังที่ 1 ราคา  60 ล้านบาท , บ้านหลังที่ 2 ราคา 8 ล้านบาท , บ้านหลังที่  3 ราคา 10 ล้านบาท) น้ากมลพักอาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหลังที่ 3
    กรณีนี้น้ากมลจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีบ้านหลังที่ 3 ที่ตัวเองเป็นเจ้าของและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แต่บ้านอีก  2 หลังต้องเสียภาษี สรุปได้ดังนี้

  • บ้านหลังที่ 1 = ราคา  60 ล้านบาท เสียภาษี 60 ล้านบาท x 0.02% = 12,000 บาท
  • บ้านหลังที่ 2 = ราคา 8 ล้านบาท  เสียภาษี 8 ล้านบาท x 0.02% = 1,600 บาท
  • บ้านหลังที่ 3 = ราคา 10 ล้านบาท  ยกเว้นภาษี เนื่องจากเป็นเจ้าของและมีชื่อในทะเบียนบ้าน มูลค่าบ้านไม่เกิน 50 ล้านบาท
  • น้ากมลจะต้องเสียภาษีรวมทั้งหมด 13,600 บาท
*** ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมและเพื่อรับทราบข้อกำหนดล่าสุด ติดต่อสอบถามได้ที่หน่วยงานราชการ เช่น สำนักงานเขต ใน กทม. http://www.bangkok.go.th/main/ หรือสำนักงานกรมที่ดินใกล้บ้านท่าน https://www.dol.go.th/ ***

Join The Discussion

Compare listings

Compare
Translate »